รายงานด้านอุตสาหกรรมการเงินล่าสุดระบุอนาคตภาคธุรกิจผู้บริโภคในเอเชีย
และในขณะที่ผู้บริโภคชาวจีนที่ใช้จ่ายกันอย่างอิสระ และชอบเดินทางท่องเที่ยวกันมากขึ้นถูกคาดว่าจะเป็นตัวเร่งการเติบโต แต่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ไม่ควรถูกมองข้ามเช่นกัน
เอชเอสบีซีเปิดเผยว่ากำลังจับตามองตลาดธุรกิจปรับปรุงบ้านของประเทศไทยและห้างสรรพสินค้าของอินโดนีเซียเป็นกลุ่มธุรกิจผู้บริโภคในอาเซียนอยู่
ธนาคารเอชเอสบีซีได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับหุ้นของธุรกิจผู้บริโภค 21 แห่ง และคาดการณ์การเติบโตของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียว่าจะใกล้เคียงกับร้อยละ 35 ของเศรษฐกิจโลกในปี 2573 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26 ในปัจจุบัน
“การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมืองขนาดเล็กและขนาดกลางในอาเซียนจะผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต” ไนเจลคีแนน นักวิเคราะห์ด้านธุรกิจผู้บริโภค เปิดเผย “ในประเทศอินโดนีเซียบางเมืองที่มีขนาดค่อนข้างเล็กกำลังกลายเป็นจุดที่มีการเติบโตสูง”
“Gresik ในจังหวัดชวาตะวันออกของอินโดนีเซียเป็นกรณีศึกษาในด้านนี้ เมืองมีคนอาศัยอยู่เพียง 1.2 ล้านคน แต่เกือบร้อยละ 60 ของพวกเขามีบทบาทด้านการบริโภคสูง โดยมีการใช้จ่ายสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนอินโดนีเซียในเมืองถึงร้อยละ 12”
คีแนนเสริมว่า “การพัฒนาดังกล่าวเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างผลกำไรให้กับบริษัทต่างๆ อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้ามาตาฮารี” ซึ่งเกือบสามในสี่ของยอดขายรวมในปี 2561 เกิดขึ้นนอกกรุงจาการ์ตา โดยส่วนใหญ่อยู่ในเมืองขนาดกลาง
นอกจากนี้เขายังได้เน้นว่าบริษัทที่ทำธุรกิจด้านศูนย์ค้าปลีกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับบ้านกำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และภาคค้าปลีกมีระบบการจัดการที่ดีขึ้น
“เราเชื่อว่าทั้งกลไกการเติบโตในระยะยาวทั้งสองอย่างนี้จะต่อยอดการเติบโตในระยะกลางของโฮมโปร”คีแนนตั้งข้อสังเกตว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับอิทธิพลโดยตรงจากการค้าในเอเชียและนักท่องเที่ยวจีน”
นอกจากนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจได้รับประโยชน์จากบริษัทที่มีชื่อเสียงนอกภูมิภาคอีกด้วย
นักวิเคราะห์ของเอชเอสบีซีระบุว่าผลบวกจาก Eclat ผู้ผลิตเสื้อผ้าจากไต้หวันซึ่งผลิตสินค้าให้กับแบรนด์กีฬาดัง อย่าง Under Armour และ Lululemon
พวกเขาระบุไว้ในแผนการจัดการใหม่เพื่อขยายกำลังการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มว่า “ Eclat น่าจะได้รับประโยชน์จากการส่งคำสั่งซื้อไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
พวกเขากล่าวว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นผลมาจากคำสั่งซื้อที่เปลี่ยนจากจีนไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการแบ่งกำไรจากกระเป๋าเงินจากลูกค้ารายเดิม
“การเติบโตเกิดขึ้นจากทั้งสองทาง คือ เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่เริ่มร้อนแรงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2561 ลูกค้าแบรนด์เริ่มมองหาฐานการผลิตนอกประเทศจีน เวียดนามกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐาน และห่วงโซ่อุปทานด้านสิ่งทอของประเทศที่สมบูรณ์” คีแนนระบุ
“Eclat ได้ปิดโรงงานผลิตในจีนทั้งหมดในปี 2559 และกำลังการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเวียดนามและไต้หวัน นอกจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนแล้ว ค่าแรงในจีนยังถือเป็นแรงกดดันอย่างหนักสำหรับบริษัทสิ่งทอ” คีแนนทิ้งท้าย