ตอนนี้คงไม่มีข้อโต้แย้งหากจะชี้ให้เห็นว่าการจัดซื้อไม่มีทางประสบความสำเร็จได้หากขาดการดำเนินกลยุทธ์ดิจิทัล และ บทบาทในการนำเสนอระบบดิจิทัล ที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อที่ประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำของผู้คนที่มีอิทธิพลในธุรกิจ และเป็นนักสร้างความสัมพันธ์ แต่พวกเขาไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืนและเชื่อถือได้หากขาดระบบดิจิทัล
ทุกคนในโลกธุรกิจจะกล่าวว่าการก้าวสู่ระบบดิจิทัลไม่ใช่แค่เรื่องของเครื่องจักร แต่เกี่ยวกับผู้คน แต่สิ่งที่พวกเขาหมายถึงจริงๆ คือชุดทักษะที่จะทำให้ฝ่ายจัดซื้อขององค์กรเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมของทีมกำลังเปลี่ยนไป บทบาทใหม่ๆ กำลังเกิดขึ้น และงานต่างๆ ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติมากขึ้น
อีกจุดหนึ่งก็คือเรื่องของอารมณ์ แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสมดุล ซึ่งผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อยุคใหม่ต้องดึงออกมา ในฐานะผู้นำ พวกเขาต้องเข้าใจและยอมรับระบบดิจิทัล แต่ยังเสริมสร้างขีดความสามารถต่างๆ จากระบบดิจิทัลเพื่อทำให้วิสัยทัศน์นั้นเป็นจริง แม้แต่สิ่งเหล่านี้ก็มีความซับซ้อนค่อนข้างมาก พวกเขาต้องเปลี่ยนจากสิ่งที่พวกเขามีในแง่ของคน ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ไปสู่วิสัยทัศน์ด้านจัดซื้อแบบใหม่
เป็นผู้นำ หรือล้มเหลว
George Westerman จากศูนย์ธุรกิจดิจิทัลของ MIT Sloan Management ชี้ให้เห็นว่าความคืบหน้าของการทำให้ธุรกิจกลายเป็นระบบดิจิทัลนั้น มาจากการพัฒนาความสามารถในการเป็นผู้นำและดิจิทัลได้อย่างสอดคล้องกัน ซึ่งความคิดดังกล่าวทำให้เกิดการเข้าใจในความท้าทายด้านการจัดซื้อ และผู้นำคือคนที่จะนำพาธุรกิจไปสู่ระบบดิจิทัลหรือล้มเหลว
นี่อาจเป็นการทดสอบครั้งใหญ่ แต่ก็เป็นโอกาสตามมาเช่นกัน “ผู้เชี่ยวชาญดิจิทัล” เหมือนกับที่ Westerman กล่าวถึง และทีมของคุณจะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ธุรกิจ มาเป็นสถาปนิกของห่วงโซ่คุณค่า และกำหนดรูปแบบโลก เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการกำหนดฟังก์ชั่นใหม่อย่างสมบูรณ์ และเป็นจุดผลิกผันของฝ่ายและผู้นำที่ไม่สามารถทำได้ หรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติครั้งนั้น
Graham Wright รองประธานฝ่ายจัดซื้อทั่วโลกของไอบีเอ็ม ตั้งคำถาม “เทคโนโลยีให้พลังแก่คุณมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเอามันไปใช้ทำอะไร” แต่สำหรับฝ่ายจัดซื้อคงสามารถตอบคำถามนี้ได้เป็นอย่างดี