‘ESG’ บรรทัดฐานทางธุรกิจ ระดับสากล เพื่อการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน

จากความท้าทาย…สู่การเป็นกลยุทธ์หลักในการสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ การดำเนินธุรกิจบนหลักการด้านความยั่งยืน หรือ ESG ที่ประกอบไปด้วย ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม  และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance)  จะส่งผลกระทบต่อ ผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือพลิกโฉมธุรกิจจัดซื้ออย่างไร?

ความสำคัญของ ESG 

ผลกระทบที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของโลกในหลาย ๆ ด้าน ทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายและจริยธรรม และปัญหาการดำเนินธุรกิจที่ขาดคุณธรรม รวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สงคราม โรคระบาด หรือแม้กระทั่งปัญหาความเหลื่อมล้ำ ที่มาจากความเจริญทางเทคโนโลยี

 

ปัจจัยเหล่านี้ สร้างความตระหนักในเป้าหมายด้านความยั่งยืน ต่อทุกภาคส่วน อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจในการออกมาแสดงความรับผิดชอบและแสดงศักยภาพในการบริหารจัดการ เพื่อลดแรงกดดันจากลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงลดผลกระทบทางรายได้ และรักษาความมั่นคงทางธุรกิจท่ามกลางความสั่นคลอน

ธุรกิจจัดซื้อ กับ ESG

ความท้าทาย

ความยั่งยืน ได้กลายเป็นเป้าหมายหลักทางธุรกิจของบริษัทชั้นนำ ทำให้บทบาทของฝ่ายจัดซื้อในฝั่งผู้ซื้อ และฝ่ายขายในฝั่งผู้ขาย/ซัพพลายเออร์ มีความสำคัญ ในฐานะผู้หล่อเลี้ยงระบบนิเวศและทำให้นโยบายความยั่งยืนขององค์กร เป็นไปอย่างราบรื่น สร้างความท้าทายและเกิดการเร่งให้ปรับตัวในหลายมิติ

  1. การสรรหาซัพพลายเออร์ของผู้ซื้อ และการเข้าร่วมเสนอขายของผู้ขาย

ความเปลี่ยนแปลงในการทำงาน หรือกิจกรรมใหม่ ๆ ด้าน ESG ในหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร ทำให้ฝ่ายจัดซื้อต้องสรรหาซัพพลายเออร์รายใหม่ที่ไม่เคยทำธุรกิจด้วยกันมาก่อนและไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมถึงความรู้ความเข้าใจในบริการ วัสดุ อุปกรณ์ และโปรไฟล์ธุรกิจของซัพพลายเออร์ที่ตรงกับความต้องการของหน่วยงาน และดำเนินธุรกิจตามหลักการความยั่งยืน

 

ตัวอย่างเช่น ซัพพลายเออร์ที่เป็นปรึกษาในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้านการบำบัดน้ำเสีย,  ซัพพลายเออร์ที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบในการผลิตสินค้าตัวใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงการเปลี่ยนโฉมการให้บริการ ให้กลายเป็นการบริการแบบไร้มลพิษ เป็นต้น

 

ทางด้านผู้ขาย/ซัพพลายเออร์ มีความท้าทายในการทบทวน แก้ไข ปรับปรุง ข้อมูลพื้นฐานและโปรไฟล์ทางธุรกิจให้ทันสมัย และครบถ้วนตรงตามที่ผู้ซื้อต้องการรวมถึงตามที่ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์มีการเรียกร้องให้กรอกเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นข้อมูลสำคัญและบรรทัดฐานใหม่ ที่ผู้ซื้อใช้พิจารณาผู้ขายก่อนเสมอ 

 

โดยเฉพาะการจัดซื้อผ่านระบบหรือแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนในทุกระบวนการความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูลบริษัทผู้ขาย จะช่วยให้ผู้ขายเข้าไปอยู่ในช่องทางที่ผู้ซื้อใช้งานทุกวันและได้ใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ ในการนำข้อมูลของผู้ขาย ไปเก็บบันทึกไว้ใน ถังข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ในการส่งข้อมูลไปแสดงผล ให้ผู้ซื้อเห็น

 

ด้านการนำเสนอสินค้า/บริการ รวมถึงการส่งเสริมการขาย ก็ได้รับผลกระทบเชิงปรับตัว เช่นเดียวกัน ทั้งช่องทางในการนำเสนอที่ผู้ซื้อเรียกร้อง แต่ผู้ขายอาจไม่เคยใช้งานมาก่อน

 

เกณฑ์ในการออกแบบการสื่อสารที่ต้องสอดคล้องและสะท้อนภาพลักษณ์ ESG รวมถึงข้อเรียกร้องด้านความน่าเชื่อถือในผู้ขายรายใหม่ ที่ผู้ซื้อต้องการ ก่อนเริ่มทำธุรกิจ ที่มีความหลากหลายซับซ้อน ซึ่งอาจทำให้ผู้ขายปรับตัวไม่ทัน หรือใช้เวลานานในการทำให้สมบูรณ์

 

  1. การทบทวนห่วงโซ่อุปทาน

การปรับตัวอย่างรวดเร็วของ ฝ่ายจัดซื้อในฝั่งผู้ซื้อ และฝ่ายขายในฝั่งผู้ขาย เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายด้านความยั่งยืน สร้างความเสี่ยงในการเกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน จากการที่บริษัทขนาดเล็ก ไม่สามารถพัฒนาหรือไม่มีศักยภาพเพียงพอ ในการเตรียมความพร้อม เพื่อเป็นคู่ค้าที่มีคุณสมบัติตามนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ขององค์กรผู้ซื้อ ได้ทัน ตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีทำงานแทนพนักงาน การสื่อสารทางไกลในรูปแบบใหม่ ๆ หรือระดับความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน

 

  1. การสร้างความเท่าเทียม

การสร้างความเท่าเทียมและการสนับสนุนซัพพลายเออร์ท้องถิ่นของผู้ซื้อ สร้างความยากลำบากในการบรรลุเป้าหมายในด้านสังคม โดยเฉพาะด้านของผู้ขาย ที่ต้องทำให้ผู้ซื้อมีความเชื่อมั่น ในการทำธุรกิจกับคู่ค้ารายใหม่ รวมถึงการปรับปรุง พัฒนา กระบวนการ ทั้งนโยบายและเทคโนโลยี

เพื่อเพิ่มโอกาสให้ซัพพลายเออร์ท้องถิ่นเข้าร่วมการประมูลราคา ด้วยเกณฑ์การแข่งขันที่เป็นมาตรฐาน ที่สามารถแสดง ระบุ ติดตาม ตรวจสอบ รายงาน และป้องกัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ได้

 

  1. การสรรหาผู้เชี่ยวชาญ

การดำเนินธุรกิจตามหลักการ ESG สร้างความต้องการผู้เชี่ยวชาญในด้านสิ่งแวดล้อมและผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการ เพื่อแต่งตั้งในฐานะผู้กำกับดูแลหน่วยงานด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยเฉพาะ เพื่อเป็นการกระจายอำนาจและสร้างการตัดสินใจ หรือปรับปรุงนโยบาย ได้อย่างรวดเร็ว

รวมไปถึงเพื่อเป็นผู้นำในการสื่อสารและอบรมความรู้ให้แก่พนักงานภายในองค์กร ทำให้ผู้เชี่ยวชาญที่ทั้งเชี่ยวชาญและปรับตัวได้ เป็นที่ต้องการมากขึ้น

 

  1. บทบาทและความรู้

เป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อหน่วยงานต่าง ๆ สร้างแรงกดดันและความคาดหวังในหน่วยงานที่อยู่ในธุรกิจจัดซื้อ ในการแสดงศักยภาพ และความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการ ESG เพราะความยั่งยืนอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ ต้นทุน และความมั่นคงขององค์กร รวมไปถึงชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และการรักษาคุณภาพในการบริการเพื่อให้ตรงกับความพึงพอใจของลูกค้า

ผู้ซื้อ ผู้ขาย และหน่วยงานที่อยู่ในธุรกิจจัดซื้อ ต้องทำอย่างไร? 

เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน

การทบทวนคู่ค้าของผู้ซื้อ

ความเสี่ยงสำคัญที่จะทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้ คือการละเลยที่จะทบทวนคู่ค้าที่เคยรู้จัก อย่างสม่ำเสมอ ด้วยกรอบและเกณฑ์ที่เป็นปัจจุบัน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ ศักยภาพ และประเมินการดำเนินงาน รวมถึงนโยบายด้านยั่งยืน ของคู่ค้า เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง จากการเข้าไปมีส่วนร่วมหรือทำธุรกิจกับคู่ค้าที่มีคุณสมับติต่ำกว่ามาตรฐาน หรือมีการกระทำที่ขัดต่อหลักการ ESG หรือแม้กระทั่ง การทุจริต และผิดกฎหมาย  ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบในด้าน ชื่อเสียง การเสียค่าปรับจำนวนมหาศาล  และการรักษาคุณภาพของสินค้า ก่อนส่งมอบไปยังลูกค้า รวมไปถึงการถูกเรียกร้องจากผู้บริโภค ให้เผยแพร่นโยบายด้านความยั่งยืน สู่สาธารณะ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส

วิธีการที่ผู้ขาย/ซัพพลายเออร์ ใช้ในการก้าวไปเป็นคู่ค้าที่ได้รับรอง ESG

การรับรอง ESG อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ ยอดขายของผู้ขายในทันที  เนื่องจากข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของผู้ซื้อ ถูกทำขึ้นเพื่อบังคับใช้ ให้ผู้ซื้อทำธุรกิจกับคู่ค้าที่ได้รับการรับรองด้าน ESG เท่านั้น ทำให้ผู้ซื้อบางราย เร่งดำเนินการเข้าตรวจสอบคู่ค้าของตัวเองด้วยตัวเอง โดยไม่ได้แจ้งคู่ค้าล่วงหน้านานมากเพียงพอ ทำให้คู่ค้า อาจไม่ได้เตรียมความพร้อม และประเมินการดำเนินงานของตัวเองได้ทัน ส่งผลให้ไม่ผ่านการรับรอง และสูญเสียโอกาสทางการขาย รวมถึงสายสัมพันธ์ที่มีอยู่กับผู้ซื้อ รายนั้น ๆ อีกด้วย 

 

ส่วนทางด้านคู่ค้าที่ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเอง อาจเกิดปัญหาความไม่ครบถ้วน ครอบคลุม ในมิติ ที่ตรวจสอบ เพราะ ESG ยังมีหลักการอีก 17 ข้อ ที่สะท้อน ทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและธรรมาภิบาล สันติภาพและสถาบัน และด้านหุ้นส่วนการพัฒนา หรือแนวทาง Sustainable Development Goals: SDGs

 

นอกจากนี้ กรอบนโยบายด้าน ESG ของผู้ซื้อ ยังอาจรวมไปถึง ด้านความมั่นคงทางการเงิน หรือความเกี่ยวข้องด้านอาชญากรรม เป็นต้น จึงต้องอาศัยหน่วยงานเฉพาะด้าน ที่มีความเชี่ยวชาญ และสามารถรับรองให้ได้

 

การบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของผู้ขาย จะช่วยเพิ่มโอกาสการขายและการขยายธุรกิจช่วยให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้ซื้อชั้นนำ ในฐานะการเป็นคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจ อย่างโปร่งใส และรับผิดชอบต่อสังคม

การให้บริการของพันธวณิช กับ ESG

บริษัทฯ ตระหนักอยู่เสมอถึงการจัดซื้อจัดหาอย่างยั่งยืนและการแสดงความรับผิดชอบต่อทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่อุปทาน 

ตามมาตรการด้านการจัดซื้อจัดหาอย่างยั่งยืน หรือ ESG ที่กำลังเป็นบรรทัดฐานสำคัญในโลกธุรกิจปัจจุบัน ด้วยบริการตรวจสอบคุณสมับัติและประเมินธุรกิจคู่ค้า ภายใต้ชื่อ ‘Supplier 360’

โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ขายบนระบบให้มีศักยภาพและสามารถเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศได้อย่างยั่งยืน ช่วยให้องค์กรบริษัทผู้ซื้อสามารถสำรวจตรวจสอบและเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพได้ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการสร้างผลกระทบเชิงลบ จากการทำธุรกิจร่วมกัน

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ บริการ Supplier 360 คลิก

ติดต่อหน่วยงาน Supplier 360

เบอรโทรศัพท์. 02-034-4466

อีเมล: supplier360@pantavanij.com