10 วิธีลด ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19

CIPS ได้แบ่งปันคำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อ และการจัดหาสินค้าควรใช้ในการรับมือ ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อธุรกิจ

CIPS ได้เผยว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อและห่วงโซ่อุปทานจะต้องลงมือทำ “อย่างเร่งด่วนที่สุด” เพื่อสร้างสต็อกของส่วนประกอบที่จำเป็น และแหล่งสินค้าทางเลือกที่มาจากที่อื่นๆ เท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าขาดแคลนหลังการปิดโรงงานในจีนและการปิดประเทศของอิตาลี

พร้อมทั้งได้เตือนว่า “สำหรับบางธุรกิจ มันดูเหมือนจะสายเกินไปแล้วที่จะวางกลยุทธ์เพื่อบรรเทาผลกระทบเหล่านี้ในสภาวะที่ชั้นวางของในซูเปอร์มาร์เก็ตว่างเปล่าและปัญหาการขาดแคลนในสายการผลิตเริ่มปรากฏ รวมถึงเมื่อผู้บริโภคกักตุนสิ่งของจำเป็น ซึ่งนี่จะเร่งให้ปัญหาการขาดแคลนในห่วงโซ่อุปทานรุนแรงยิ่งขึ้น”

10 วิธีในการบรรเทา ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 :

  1. จัดลำดับความสำคัญของแหล่งจัดหาที่มีความเสี่ยงสูงไม่เพียงแค่แยกตามภูมิภาค แต่ควรแยกตามภาคส่วน สินค้า หรือมูลค่าต่อธุรกิจด้วย
  1. วิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานของคุณนอกเหนือไปจากซัพพลายเออร์ระดับเทียร์วันของคุณ เพื่อทำความเข้าใจซัพพลายเออร์ระดับอื่นๆ ของคุณในภูมิภาค หรือประเทศต่างๆ ได้รับผลกระทบ
  1. ทบทวนแนวทางการดำเนินธุรกิจโดยพิจารณาสินค้าคงคลัง สร้างสินค้าคงคลังโดยอาศัยร้านค้าของตนเอง เพื่อลดผลกระทบจากความล่าช้าของการขนส่งสินค้า และตรวจสอบว่าถ้าจำเป็นต้องทำสิ่งเหล่านี้ต้องมีการใช้เงินเพิ่มมากน้อยแค่ไหนถึงจะเหมาะสม
  1. อย่าอาศัยแค่ข้อมูลอุปทานที่คาดการณ์เอาไว้ หรือระดับสินค้าคงคลังในปัจจุบัน
  1. คำนวณปริมาณที่ยอมรับได้ของสินค้าในสต็อกของคุณในช่วงเวลา “ เสี่ยง” ที่คาดการณ์เอาไว้ เพื่อกำหนดสภาวะฉุกเฉิน
  1. เปิดช่องทางการติดต่อกับซัพพลายเออร์รายหลักของคุณไว้เสมอ
  1. ค้นหาแหล่งจัดหาทางเลือกอื่นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเส้นทางการขนส่งอื่นๆ
  1. หาปัจจัยที่ทำให้ระยะในการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือมีทางเลือกอื่นๆ เพิ่มขึ้น
  1. ประเมินแผนการเดินทางและใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เช่น การประชุมทางไกลแทนการประชุมแบบพบปะกันโดยตรง
  1. คำนวณค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้น เช่น การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าของคุณไม่ได้

ในระยะยาว CIPS เผยว่าผู้ซื้อและผู้เชี่ยวชาญด้านอุปทานมีบทบาทสำคัญในการเตือนให้บริษัทต่างๆ ตระหนักถึงการชะงักงันของอุปทานและนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา

5 สิ่งที่ผู้ซื้อต้องทำในระยะยาว

  1. สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้เพื่อเน้นส่วนสำคัญของอุปทานที่อาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคตและสร้างแผนบรรเทาผลกระทบ

2.มองหาทางร่วมมือกับองค์กรในภาคส่วนของคุณเพื่อพัฒนาตลาดใหม่ของอุปทานที่ซัพพลายเออร์มีจำนวนจำกัดหรือ

ซัพพลายเออร์ถูกจำกัดโดยสภาพทางภูมิศาสตร์

  1. กระจายแหล่งจัดหาของคุณไปยังซัพพลายเออร์หลายรายในภูมิภาคที่แตกต่างกัน

4.หาทางพัฒนาแหล่งผลิตในท้องถิ่นให้มากขึ้น ไม่เพียงแต่คุณจะมองเห็นห่วงโซ่อุปทานของคุณได้อย่างเต็มที่

แต่อาจมีประโยชน์เพิ่มขึ้น  เช่น การลดความเสี่ยงจากผู้จัดหาที่ขาดจริยธรรม เพิ่มความยั่งยืนและเศรษฐกิจในท้องถิ่น

  1. ทบทวนข้อกำหนดสัญญาเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ที่คุณต้องเผชิญกับวิกฤต กฎหมายที่ว่าด้วยเหตุสุดวิสัยจะมีผลบังคับใช้กับคุณหรือไม่?

CIPS ทิ้งท้ายว่า “ในการเผชิญกับวิกฤตโลกที่สำคัญ เช่น การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ตอนนี้เป็นเวลาที่จะก้าวไปข้างหน้า และปกป้องห่วงโซ่อุปทานจากผลกระทบให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”