การจัดซื้ออย่างยั่งยืนจะกลายเป็นกลยุทธ์ที่มีความจำเป็น

ทุกวันนี้บริษัทต่างๆ กำลังเผชิญกับกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น และความตระหนักที่เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้บริโภคเกี่ยวกับความยั่งยืนของสินค้าที่พวกเขาซื้อ ด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละ 65 ของมูลค่าเพิ่มของบริษัทที่สร้างขึ้นโดยซัพพลายเออร์ ผู้บริโภค และหน่วยงานกำกับดูแล ทำให้ทุกวันนี้บริษัทต่างๆ ไม่เพียงรับผิดชอบต่อการปฏิบัติของตนเอง แต่ยังรวมถึงซัพพลายเออร์ของพวกเขาด้วย เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานกำกับดูแลและผู้บริโภค หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเกี่ยวกับความยั่งยืนและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของซัพพลายเออร์ของพวกเขา ซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยากแต่สามารถควบคุมได้โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเท่านั้น

มีกฎระเบียบมากขึ้น

การเพิ่มจำนวนกฎระเบียบทำให้บริษัทต่างๆ ต้องติดตามและรายงานการปฏิบัติตามกฎระเบียบของซัพพลายเออร์ของตนเอง การเพิ่มมาตรฐานที่มีอยู่แล้ว เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยกระทําอันเป็นการทุจริตข้ามชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา และหลักสากล 10 ประการของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) ทำให้มีการออกกฎหมายใหม่หลายฉบับในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงหน้าที่การรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของสหภาพยุโรปที่มีผลบังคับใช้ในปี 2560 พระราชบัญญัติการดูแลรักษาของฝรั่งเศส (2017), พระราชบัญญัติทาสยุคใหม่ของสหราชอาณาจักร (2015), พระราชบัญญัติการติดสินบนของสหราชอาณาจักร (2010) และระเบียบข้อบังคับต่างๆ เช่น ที่มาของแร่ธาตุจากแหล่งที่มีความขัดแย้งกัน

การรับรู้ของผู้บริโภคกำลังเพิ่มขึ้น

ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความรอบรู้และตระหนักถึงความยั่งยืนมากขึ้น สิ่งนี้สะท้อนถึงพฤติกรรมการซื้อของพวกเขาได้เป็นอย่างดี ก่อให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มาจากห่วงโซ่คุณค่าทางจริยธรรม ด้วยความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ บริษัทต่างๆ มักจะถูกตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนหากพวกเขาไม่ใส่ใจต่อการทำผิดจรรยาบรรณที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา

ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการฆ่าตัวตายในหมู่พนักงานที่โรงงานของ Foxconn ทำให้เกิดแรงกดดันต่อแอปเปิ้ล ซึ่งเป็นลูกค้ารายหนึ่งของบริษัทให้เข้าไปดำเนินการกับสภาพการทำงานในโรงงานเหล่านั้น

อุตสาหกรรมสิ่งทอได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันเมื่อมีคนงานมากกว่า 1,000 คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุโรงงานถล่มที่ Rana Plaza ในบังคลาเทศเมื่อปี 2013

สำหรับบริษัทที่ต้องการแข่งขันและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ฝ่ายจัดซื้อต้องมีความสามารถในการมองเห็นอย่างเต็มที่เพื่อให้สามารถระบุและตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการแบบเก่าสิ้นเปลืองทรัพยากรมากเกินไป

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบความยั่งยืนและการปฏิบัติตามกฏระเบียบของซัพพลายเออร์จำนวนมากเป็นงานที่ซับซ้อนและยาก วิธีการแบบเก่าเช่นการตรวจสอบซัพพลายเออร์เป็นงานที่สิ้นเปลืองทรัพยากร หลายบริษัทจึงมุ่งเน้นไปที่ซัพพลายเออร์ที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์เพียงไม่กี่ราย ทำให้บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กมักไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อความเสี่ยงที่ตรวจไม่พบซึ่งแฝงตัวอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน

เทคโนโลยีช่วยตอบโจทย์

เทคโนโลยีขั้นสูงสามารถเข้ามาแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ และช่วยให้หัวหน้าผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อได้รับข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา การมีวิธีการที่ได้มาตรฐานและปรับเปลี่ยนได้ เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนำไปใช้กับซัพพลายเออร์ของบริษัทได้ 100% ไม่ใช่แค่กลยุทธ์เชิงกลยุทธ์ เมื่อมีการนำเทคโยโลยีไปใช้ หน้าที่ฝ่ายจัดซื้อก็จะสามารถระบุความเสี่ยงและใช้ทรัพยากรของตนเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ