ปัญหาเศรษฐกิจ ธุรกิจปรับตัวและ Supply Chain Finance ในปัจจุบัน
จากสภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจทั่วโลกต้องหยุดชะงักลง รวมถึงในประเทศไทย ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเช่นนี้ ทำให้หลายๆ ธุรกิจต้องปรับตัว รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่นับได้ว่าเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ต่างได้รับผลกระทบจำนวนมากเพราะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนจากสถาบันการเงินหรืออาจเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นด้วยต้นทุนทางการเงินที่สูง
ภาพรวมของเศรษฐกิจในปัจจุบัน
จากการสรุปภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2563 ต่อภาคธุรกิจ พบว่าเศรษฐกิจของไทยหดตัวลงในทุกภาคธุรกิจ และมีกลุ่มผู้ประกอบการประมาณ 71% ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มแย่ลงในอีก 12 เดือนข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของภาคบริการ ภาคการค้า ภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง รวมไปถึงภาคการผลิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจภาพรวมในประเทศยังอยู่ในช่วงหดตัว ซึ่งส่วนหนึ่งมีเหตุผลมาจากการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักในระยะยาว
ผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจ SMEs
ถึงแม้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่จะสามารถกลับมาเปิดได้ตามปกติ แต่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง อีกทั้งยังผู้บริโภคยังมีพฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนไป เพราะมีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจหลายๆ ภาคส่วนมีรายได้ที่ลดลง ทั้งยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ปัจจุบันอีกด้วย
แต่ถึงแม้ว่าธุรกิจจะกลับมาเปิดดำเนินการได้ตามปกติในอนาคต แต่ก็ยังคงฟื้นตัวได้ช้า โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่มีการขอสินเชื่อได้ยากหรือใช้เวลานานกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ และการเลือกขอสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจกับทางธนาคารนั้น อาจจะต้องมีหลักทรัพย์เพื่อนำไปค้ำประกัน และทำให้การขอกู้กับสถาบันทางการเงินเป็นไปได้ยาก
Supply Chain Finance ตัวช่วยผู้ประกอบการในภาวะวิกฤต
จากรายงานผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อจากธนาคารแห่งประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2563 นั้น จะเห็นได้ว่าภาคธุรกิจต้องการสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจ SMEs ก็ตาม ซึ่งในภาคธุรกิจนั้นต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจแล้ว ยังช่วยในการพยุงให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเงินทุนหมุนเวียนยังสามารถนำไปใช้ในการจ้างงานรวมถึงในกระบวนการผลิต
Supply Chain Finance ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับผู้ประกอบการทั้งในกลุ่ม SMEs ที่จะเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ อีกทั้งผู้ประกอบการยังสามารถขอสินเชื่อเพื่อนำไปใช้ในการบริหารธุรกิจได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นกับบริการจากพันธวณิช
เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการที่ทำธุรกรรมบนระบบของพันธวณิชสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น บริการสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจ Supply Chain Finance ที่พันธวณิชจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ประกอบการและสถาบันทางการเงินเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย รวดเร็ว ปลอดภัยและเชื่อถือได้ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของคุณลื่นไหลไม่มีสะดุด
สามารถยื่นขอสินเชื่อ Supply Chain Finance จากพันธวณิชได้ ที่นี่
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
– สรุปภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2563
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/Pages/BLP.aspx
– รายงานผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อจากธนาคารแห่งประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2563
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/Pages/CreditCondition.aspx