ในขณะที่ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมใดบ้างที่จะต้องหยุดชะงักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร แต่เราสามารถระบุว่าอุตสาหกรรมใดบ้างที่จะตกอยู่ในความเสี่ยงโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ด้านห่วงโซ่อุปทาน จากประสบการณ์ของเรา ผู้ที่มีสินค้าคงคลังอยู่ในระดับต่ำและโดยเฉพาะบริษัท ขนาดเล็กจะมีความเสี่ยงมากที่สุด
จากการวิเคราะห์ของเราอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่ เครื่องมือและฮาร์ดแวร์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ วัสดุก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เฉพาะทางอุตสาหกรรม แม้ว่าบริษัทด้านโทรคมนาคม อุตสาหกรรมรถยนต์ อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ และกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีสินค้าคงคลังน้อยลงในห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา แต่บริษัทในอุตสาหกรรมเหล่านี้มักจะมีการเพิ่ม-ลดขนาดการผลิตและทรัพยากรเพื่อลดความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทาน
หากต้องการถอดบทเรียนจากการหยุดชะงักอื่นๆ เหตุการณ์แรกที่บอกได้ดีว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างก็คือหลังจากเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ในเมืองฟูกูชิม่า ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 บางบริษัทพบว่าจุดล้มเหลวเพียงจุดเดียวในห่วงโซ่อุปทานทำให้ให้การผลิตต้องหยุดชะงัก รวมถึงแอปเปิ้ลที่ใช้งานแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนซึ่งต้องการโพลีเมอร์จากโรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองฟูกูชิม่า อีกตัวอย่างหนึ่งคือ บริษัทรถยนต์ที่ไม่ได้รับเซ็นเซอร์ออกซิเจนที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้กับเครื่องยนต์รถบรรทุก
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลายบริษัทได้เรียนรู้จากความผิดพลาด และมุ่งเน้นการประเมินและจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงกำจัดสิ่งที่จะก่อให้เกิดความล้มเหลวจากข้อผิดพลาดในจุดเดียว แต่บริษัทบางแห่งไม่เพียงแต่ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ระดับแรกของพวกเขา แต่ยังพัฒนาความสามารถในการมองเห็นไปถึงซัพพลายเออร์ระดับที่สองและสามด้วย บริษัทต่างๆ ต้องบอกกับซัพพลายเออร์ของพวกเขาว่า สิ่งนี้มีความสำคัญเนื่องจากบริษัทต่างๆ ไม่ได้ตระหนักว่าอาจมีปัญหาซ่อนอยู่ โชคดีที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเครื่องมือเพิ่มความสามารถด้านการมองเห็นซัพพลายเชนได้รับการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้การแก้ไขปัญหานี้ง่ายขึ้น
อีกปัญหาหนึ่งก็คือเรื่องของกำลังการผลิต แม้ว่าบริษัทจะมีซัพพลายเออร์หลายราย แต่ซัพพลายเออร์รายที่สองของพวกเขาอาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเต็มที่ การห้ามเดินทาง และปิดเมือง อย่างเช่นการตัดสินใจของรัฐบาลจีนตั้งแต่ตัดสินใจประกาศวัดหยุดยาวนับตั้งแต่ช่วงเทศกาลตรุษจีนทำให้เกิดการขาดแคลนอุปทานหรือต้องการให้บริษัทเร่งการจัดส่งสินค้า
สิ่งที่ดีที่สุดที่บริษัทสามารถทำได้คือทำความเข้าใจความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของตนเอง และพัฒนาวิธีการลดผลกระทบล่วงหน้า นอกจากนี้การเพิ่มระดับของสินค้าคงคลังจะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติต่างๆ
ในตอนนี้หากบริษัทของคุณหรือซัพพลายเออร์หลักมีสินค้าคงคลังจำกัด และต้องพึ่งพาแหล่งจัดหาในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการหยุดชะงัก ผู้ที่อยู่ในสถานการณ์นี้กำลังประเมินสินค้าคงคลังและระดับการผลิตของส่วนประกอบที่สำคัญและการพัฒนาแผนทางเลือก ในส่วนของธุรกิจอื่นๆ บริษัทต้องสามารถระบุความเสี่ยงด้านอุปทานเฉพาะและจัดการความเสี่ยงอย่างจริงจัง รวมถึงจะหาแนวทางแก้ไขหรือลดผลกระทบให้น้อยที่สุด